แนวคิดและความเป็นมาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

           แนวคิดในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นในภาคใต้ เริ่มขึ้นในปี 2484 โดยรัฐบาลต้องการที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยภูมิภาคขึ้น
3 แห่งคือ ภาคเหนือที่เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่อุบลราชธานี และภาคใต้ที่สงขลา แต่ความคิดดังกล่าวได้หยุดชะงักลง
เนื่องจากเกิดสงขลาโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ต่อมาภายหลังการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2501 อันเป็นสมัยของการเร่งรัดพัฒนาประเทศ
ผู้นำประเทศในขณะนั้น ได้ให้ความสนใจในการปรับปรุงการศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็นอย่างมาก พร้อมทั้งมีดำริที่จะเปิดมหาวิทยาลัย
ขึ้นในภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ เพื่อที่จะให้เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาของแต่ละภูมิภาค และเพื่อแก้ปัญหาความขาดแคลน
ที่เรียนในภูมิภาครวมทั้งปัญหาการนิยมส่งนักเรียนไปศึกษาต่างประเทศ ในส่วนของการดำเนินงานเพื่อก่อตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้
หรือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในปัจจุบันนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาภาคใต้และเพื่อให้เยาวชน
ภาคนี้ มีโอกาสเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย โดยมีแนวคิดในการจัดตั้งพอสรุปได้เป็น 3 แนวคิด

แนวคิดในช่วงระยะเวลาแรก
          จะจัดตั้งเป็นระดับวิทยาลัยก่อน แล้วจึงขยายเป็นมหาวิทยาลัยในภายหลัง แนวคิดดังกล่าวมีที่มาโดยลำดับดังนี้ คือคณะกรรมการ
พัฒนาภาคใต้ชุดแรก ซึ่งมีจอมพลประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขณะนั้นเป็นประธาน ได้เล็งเห็นความ
จำเป็นของการ
ที่จะให้มีมหาวิทยาลัยในภาคใต้ จึงได้มอบหมายให้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยดำเนินการพิจารณา
วางโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยต่อไป โดยกรมการปกครองได้จัดให้มีการประชุมปรึกษาร่วมกัน เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2505
ระหว่างฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นโดยสรุปดังนี้

ให้จัดตั้งเป็นวิทยาลัยศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (Collage of Arts and Sciences) ก่อน ต่อมาจึงจะขยายเป็นระดับ
มหาวิทยาลัย โดยมีระยะเวลา 3 ปี (2500-2508) แนวคิดช่วงระยะเวลาแรกในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนี้ ได้นำเสนอและผ่านความ
เห็นชอบจากที่ประชุมกระทรวง มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น พิจารณาจัดหาสถานที่จัดทำแผนดำเนินงาน และดำเนินการติดต่อ
ขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ โดยผลการประชุมของคณะอนุกรรมการ มีความเห็นว่า
ที่ตั้งควรใช้ที่บริเวณทุ่งนเรนทร์
ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี โดยควรให้สำนักผังเมืองจัดวางแบบแปลนแผนผัง และเปิดสอนด้านวิศวกรรมและ
เกษตรกรรมก่อน แต่การดำเนินงานตามแนวคิดช่วงระยะเวลาแรกนี้ต้องหยุดชะงักลงหลังจากอสัญกรรมของนายกรัฐมนตรี
และมี
การแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาภาคให้ชุดใหม่ขึ้นในเดือนมกราคม 2507
โดยมีพันเอกถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ต่างประเทศขณะนั้นเป็นประธาน คณะกรรมการชุดใหม่ได้ปรับเป็นแนวคิดใหม่ขึ้น

แนวคิดในช่วงระยะเวลาที่สอง
จัดตั้งมหาวิทยาลัยซึ่งมีคณะวิชากระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ โดยเฉพระในบริเวณ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีศูนย์กลางของ
มหาวิทยาลัย (Main Campus) อยู่ที่จังหวัดปัตตานี โดยให้มีการจัดระเบียบแบบไม่เป็นส่วนราชการ เพื่อความคล่องตัวใน
การบริหาร แนวคิดดังกล่าวมีรายละเอียดที่มาและการดำเนินการดังนี้
พันเอกถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาภาคใต้ ได้ดำเนินการต่อ
เกี่ยวกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ โดยได้เดินทางไปสำรวจสถานที่ด้วยตนเองถึงสองครั้ง และต่อมาเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2508
ประธานคณะกรรมการพัฒนาภาคใต้ได้เสนอหลักการเกี่ยวกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา คือ
ศูนย์กลางของมหาวิทยาลัยภาคใต้ ควรตั้งอยู่ที่ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ด้วยเหตุผล 4 ประการ คือ

   ประการแรก ทางประวัติศาสตร์ ปัตตานีเคยเป็นเมืองสำคัญและเป็นที่ตั้งของมณฑลปัตตานี แต่กลับมีสภาพเสื่อมโทรมและ
ด้อยกว่าจังหวัดใกล้เคียง ถ้าหากได้รับการสนับสนุนส่งเสริมอาจจะช่วยฟื้นฟูให้กลับเป็นแหล่งที่มีความเจริญรุ่งเรืองและมีความ
สำคัญต่อการพัฒนาภาคใต้ในอนาคต
   ประการที่สอง มหาวิทยาลัยภาคใต้ควรตั้งอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเมื่อพิจารณาทางภูมิศาสตร์และการคมนาคมแล้ว
จังหวัดปัตตานีเป็นแหล่งกลางที่เหมาะสมในการติดต่อกับจังหวัดอื่นๆ
   ประการที่สาม ประชาชนจังหวัดปัตตานีมีความกระตือรือร้นและสนใจอยากให้มหาวิทยาลัยภาคใต้ไปตั้งอยู่ในตัวเมืองของตน
มากเป็นพิเศษ ถึงกับได้แสดงความจำนงมอบที่ดินและหาเงินสมทบเพื่อก่อตั้งมหาวิทยาลัยอีกด้วย
   ประการที่สี่ พื้นที่ที่ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานีมีลักษณะเหมาะสมสำหรับเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย

และในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ ควรยึดถือหลักการให้กระจายคณะวิชาออกไปในจังหวัดต่างๆ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ด้านการ
ขยายตัวในอนาคต คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ อยู่ที่ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี คณะแพทยศาสตร์ ตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา
เพราะมีโรงพยาบาลใหญ่อยู่บ้างแล้ว คณะครุศาสตร์ตั้งอยู่ที่บริเวณเขาตูม จังหวัดยะลา ซึ่งมีสถาบันและส่วนราชการทางการ
ศึกษาอยู่แล้ว ขอพระราชทานชื่อมหาวิทยาลัยภาคใต้ และขอตั้งงบประมาณสำหรับดำเนินงานในปี2509 จำนวน 30 ล้านบาท

คณะรัฐมนตรีได้ลงมติรับหลักการจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ และอนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการก่อตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ขึ้น
โดยมีพันเอกถนัด คอมันตร์เป็นประธานกรรมการ ในปี 2510 คณะกรรมการก่อตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้จึงเสนอให้สภาการ
ศึกษาแห่งชาติ ให้ความเห็นชอบตามความในพระราชบัญญัติสภาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2502 ปรากฏสาระสำคัญของข้อเสนอ

เพื่อพิจารณาดังนี้ คือ การจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ มีหลักการที่จะกระจายคณะวิชาออกไปตั้งอยู่ตามจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะ
ในบริเวณ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีศูนย์กลางของมหาวิทยาลัยอยู่ที่จังหวัดปัตตานี มีโครงการและนโยบายจัดตั้ง
คณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นเป็นคณะแรก เปิดสอนในเดือนมิถุนายน 2510 และคณะแพทยศาสตร์เป็นคณะที่สองที่จังหวัดสงขลา
ในปี 2513 ในด้านการดำเนินการโดยขอความร่วมมือจากคณาจารย์ในสถาบันที่มีอยู่ในขณะนั้นช่วยดำเนินการสอน และขอความ
ร่วมมือจากองค์การระหว่างประเทศ

ผลการพิจารณาของคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติยอมรับในหลักการแต่มีความเห็นว่าควรมีหลักการรวมเอาคณะวิชาสำคัญๆ
ที่เป็นพื้นฐานของมหาวิทยาลัยไว้ ณ ที่แห่งเดียวกัน และควรให้มีการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์เป็นลำดับต่อไป
ในการดำเนินงานให้ฝ่านักศึกษามหาวิทยาลัยภาคใต้ที่สอบผ่านการคัดเลือก ร่วมเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยภาคใต้ เข้าศึกษาใน
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ไปก่อน จนกว่าการดำเนินการก่อสร้างและการจัดหาอาจารย์ไปประจำ
มหาวิทยาลัยภาคใต้เรียบร้อย สำหรับในส่วนของพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยภาคใต้ผลการพิจารณาของคณะกรรมการระดับ
อุดมศึกษา สภาการศึกษาแห่งชาติปรากฏว่าคณะกรรมการฯ ลงมติสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยภาคใต้มีพระราชบัญญัติแบบไม่เป็น
ส่วนแบ่งราชการ

แนวคิดในช่วงระยะที่สาม
แนวคิดในระยะที่สามจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นหนึ่ง สามารถเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยในประเทศและต่างประเทศได้
มีพระราชบัญญัติแบบเป็นสายราชการแบบเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ เปลี่ยนแปลงที่ตั้งของคณะวิชา และปรับปรุงการเปิด
คณะวิชาใหม่ให้เหมาะสม

การเปลี่ยนแปลงการดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ไปตามแนวคิดในช่วงระยะที่ 3 มีจุดเริ่มต้นเมื่อคณะกรรมการก่อตั้ง
มหาวิทยาลัยภาคใต้มีมติแต่งตั้งศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข เข้าร่วมเป็นกรรมการจัดตั้ง ได้เสนอขอให้เปิดคณะ
วิทยาศาสตร์ขึ้น เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษารองรับคณะอื่นๆ ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ ในฐานะผู้ได้รับนโยบายจากประธาน
คณะกรรมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้แถลงต่อที่ประชุมว่าการที่จะให้มีพระราชบัญญัติแบบไม่เป็นส่วนราชการนั้น อาจทำให้
มีอุปสรรคในการดำเนินงานในเริ่มแรก จึงเสนอให้คณะกรรมการระดับอุดมศึกษา พิจารณาสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยภาคใต้
มีพระราชบัญญัติเป็นส่วนราชการ

ทางด้านการดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ได้มีการรับอาจารย์รุ่นแรกของมหาวิทยาลัยในเดือนพฤษภาคม และมิถุนายน 2510
ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ พร้อมด้วยบุคลากร 5 ท่าน คือ ดร.ประดิษฐ เชยจิตร ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ดร.นาท ตัณฑวิรุฬห์
อาจารย์เย็นใจ เลาหวณิชย์ และนายนิพนธ์ มาศะวิสุทธิ์ ได้ร่วมเดินทางเป็นครั้งแรกไปสำรวจที่ตั้งของมหาวิทยาลัย ณ ที่ตำบล
รูสะมิแล จังหวัดปัตตานี คณะผู้สำรวจมีความเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวไม่มีความเหมาะสมในการก่อตั้งอาคารเพื่อรองรับเครื่อง
จักรกลหนักๆ และสั่นสะเทือนมากเนื่องจากมีสภาพเป็นดินลุ่มและอ่อน ไอน้ำเค็มจะทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องจักรกล
ชนิดละเอียดเป็นสนิมง่าย คณะผู้สำรวจจึงเสนอแนะความเห็นว่า สถานที่เดิมที่ตำบลรูสะมิแลไม่เหมาะสมต่อการสร้างคณะ
วิทยาศาสตร ์และคณะวิศวกรรมศาสตร์โดยเหตุผลทางเทคนิค และเพื่อความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมจึงเห็นควรจัดตั้ง
เป็นคณะศึกษาศาสตร์ด้วยเหตุผลสองประการ คือ เป็นการทะนุบำรุงการศึกษาของภาคใต้ และเพื่อเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม
นอกจากนี้การมีโรงเรียนสาธิตจะสามารถดึงดูดนักเรียนจากจังหวัดต่างๆในภาคใต้ให้มาเรียนที่นี่ และเป็นการป้อนนักศึกษา
ส่วนใหญ่ให้แก่มหาวิทยาลัยภาคใต้ และเหตุผลประการที่สอง เป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนครูทางภาคใต้ อีกทั้งปัตตานี
เป็นเมืองโบราณมีวัฒนธรรมเก่าแก่ของการศึกษาทางด้านอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม ศูนย์ศึกษาแห่งนี้
ยัง
อาจขยายหรือแยกออกไปเป็นคณะมนุษยศาสตร์ได้

ปัญหาเรื่องสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ ได้หมดไปในปี2510
เมื่อศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ติดต่อขอให้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร ทูลเกล้าฯ ถวายที่ดินจำนวน 690 ไร่ ในเขต
ตำบล
คอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ให้เป็นที่ตั้งของศูนย์มหาวิทยาลัยภาคใต้อีกแห่งหนึ่ง ดังนั้นในปี พ.ศ. 2511
จึงได้ทำการตกลงกับสำนักงบประมาณขอแบ่งเงินงบประมาณเป็นสองส่วนเพื่อนำไปดำเนินการที่ศูนย์ทั้งสองแห่ง

ศูนย์ปัตตานี หรือศูนย์รูสะมิแลในอดีต (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีในปัจจุบัน) เดิมดำเนินการมาตั้งแต่
ปีงบประมาณ พ.ศ.2509 มีการก่อสร้างตึกอำนวยการ อาคารเรียน อาคารฝึกงาน หอนอน และหอพักอาจารย์ ตลอดจนการปรับปรุง
บริเวณ และการเตรียมการด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ สามารถย้ายนักศึกษาและคณาจารย์คณะศึกษาศาสตร์จากกรุงเทพฯ
มาเริ่มการเรียนการสอนที่ จ.ปัตตานีเป็นกลุ่มแรก เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2511

ศูนย์หาดใหญ่ หรือศูนย์อรรถกระวีสุนทร (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ในปัจจุบัน) เนื่องจากโครงการ
ก่อสร้างคณะวิศวกรรมและคณะวิทยาศาสตร์ต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก และได้รับการสนับสนุนงบประมาณอย่างจริงจัง
ในปีงบประมาณ พ.ศ.2512 การก่อสร้างจึงดำเนินงานมาจนถึงปี พ.ศ.2514 จึงสามารถย้ายนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์
ชั้นปีที่2-3-4
มาเริ่มทำการเรียนการสอนที่ศูนย์หาดใหญ่ในเดือนพฤษภาคม 2514 ส่วนนักศึกษาชั้นปีที่1 ยังคงอยู่ที่สำนักงาน
ชั่วคราว
(คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลในขณะนั้น) ที่กรุงเทพ เพื่อเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน สำหรับนักศึกษาคณะ
วิทยาศาสตร์ซึ่งเริ่มรับเป็นรุ่นแรก จำนวน 60 คน ในปีการศึกษา 2512 นั้น ได้ย้ายลงมาที่ศูนย์หาดใหญ่ในปลายปี 2514 และ
ในปีเดียวกันนั้นเอง ได้มีการย้ายเจ้าหน้าที่สำนักงานอธิการบดีมาปฏิบัติงานที่ศูนย์หาดใหญ่ด้วย ถือว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
โดยย้ายลงมาดำเนินการถาวรที่ศูนย์หาดใหญ่ ตั้งแต่ปีนั้นเป็นต้นมา

แหล่งที่มา:  อนุสรณ์ 20 ปี มอ. 2530. กรุงเทพฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ศ. ดร.สตางค์ มงคลสุข
หนึ่งในคณะกรรมการ
ก่อตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้

อาคารสำนักงานอธิการบดี
สภาพคลอง 100 ปี
เมื่อพ.ศ.2512